หากเราพูดถึงสถานการณ์ทั่วไป ในปัจจุบันมีการพัฒนากฎหมายแรงงานเพื่อสนับสนุนแรงงานฟอร์มโฮม (work-from-home) โดยมีหลายประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และส่วนใหญ่กฎหมายแรงงานเหล่านี้จะรวมถึงการปกป้องสิทธิของแรงงานที่ทำงานฟอร์มโฮมเช่นเดียวกับการเลิกจ้างและสิทธิในการทำงานฟอร์มโฮม.

ตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา กฎหมายแรงงานระบุว่าผู้ที่ทำงานฟอร์มโฮมจะได้รับสิทธิเดียวกับผู้ที่ทำงานในที่ทำงานปกติ เช่น การได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม การติดต่อกับสถานประกอบการในกรณีที่มีปัญหา เป็นต้น นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังระบุว่านายจ้างไม่สามารถปฏิเสธการทำงานฟอร์มโฮมโดยไม่มี

(23 มี.ค. 66) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่มีการบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางอย่างไม่เหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่มีรูปแบบการทำงานในองค์กรธุรกิจต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยลูกจ้างในบางองค์กรทำงานอยู่ที่บ้าน หรือที่หลายคนเรียกว่า เวิร์คฟอร์มโฮม มากขึ้น มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และได้ออก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 พ.ศ.2566 ซึ่งได้เพิ่มบทบัญญัติใหม่ ที่จะช่วยให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครอง และเป็นประโยชน์ต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง รวมถึงยังมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาจราจร ลดการใช้พลังงานและเชื้อเพลิงอีกด้วย กฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ได้เพิ่มบทบัญญัติ มาตรา 23/1 ซึ่งให้นายจ้างและลูกจ้าง ได้ตกลงกันว่า สามารถให้ลูกจ้างนำงานไปทำนอกพื้นที่ ของที่ทำงาน หรือให้ตกลงกันว่าให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใดๆ ได้บ้างการตกลงกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างนั้น อาจมีการตกลงรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น ระยะเวลาการเริ่มงานและเลิกงาน วัน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก และการทำงานล่วงเวลา การลา ขอบเขตหน้าที่ของลูกจ้าง การกำกับควบคุมของนายจ้าง ภาระการจัดหาเครื่องมือหรืออุปการณ์สำหรับทำงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่มาจากการทำงานด้วย

กฎหมายได้ระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานตามที่ตกลงกันไว้ ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธในการติดต่อกับนายจ้างทุกกรณี เว้นแต่ลูกจ้างจะให้ความยินยอม โดยการทำหนังสือไว้ล่วงหน้าก่อน สำหรับกฎหมายฉบับใหม่นี้ ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 66 และจะมีผลบังคับเมื่อพ้น 30 วัน นับตั้งแต่วันประกาศ หรือจะมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. 66 เป็นต้นไป

ลูกจ้างซึ่งทำงานที่บ้าน หรือที่พักอาศัย หรือทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ มีสิทธิและอยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานต่างๆ เช่นเดียวกับลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการหรือสำนักงานของนายจ้างด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวช่องทางอื่นๆที่
Facebook : 54Thaitrendy